วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา Telecommunication for Education



แบบฝึกหัดให้นิสิตนำเสนอ กำหนดส่งทาง 
Weblog  ภายใน 29 ธ.ค. 2555


1. โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอย่างไรบ้าง
                       ตอบ โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบ ของตัวอักษร ภาพ เสียง โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
                   ประโยชน์ของโทรคมนาคมทางการศีกษา
               - ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
               - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
               - ช่วยเก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
               - เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
              - ลดอุปสรรคเกียวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง ประโยชน์ของ Facebook
                    ตอบ        facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา เพราะเป็นการที่ประชุมทางไกล เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ RealTime ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ้งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื้อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้ อีกด้วย




3. นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมด้วยวิธีใด
                ตอบ 
                     1. ระบบ DSTV เป็นระบบผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band
                     2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ในเชตกรุงเทพมหานครปละจังหวัดปริมณฑล สามารถรับชมรายการได้ 7 ช่อง

4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ       ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์

5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
              ตอบ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องของ ดาวเทียม มาตั้งแต่ครั้งที่ กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เริ่มใช้ดาวเทียม อินเทลสตาร์ เพื่อการติดต่อสื่อสารในปี 2510 และมีการสร้างสถานีภาคพื้นดินที่ ตำบลศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี 2522 ได้มีการเช่าสัญญาณวงจรดาวเทียม ปาลาปา ของอินโดนีเซีย มาใช้เพื่อการสื่อสารภายในประเทศ และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงศึกษาและติดตามความก้าวหน้า ของวิทยาการดาวเทียมนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการนำดาวเทียม มาใช้เพื่อประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินในแหล่งต้นน้ำลำธารบนภูเขาสูง รวมถึงการใช้ดาวเทียมตรวจสอบสภาพอากาศ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ และการพยากรณ์อากาศ

6. ให้นิสิตโพสรูปเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา





จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน



                                              แบบฝึกหัดประจำเนื้อหา

1.เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
                    ตอบ       ภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ตัวอักษรสีดำ และตัวสีขาว ตัวอักษร A ทั้งสองโตเท่ากัน แต่เราจะรู้สึกว่า ตัวอักษร A สีขาวที่อยู่บนพื้นสีดำ ตัวใหญ่กว่า เทคนิคนี้นิยมนำไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์



2.ให้นิสิตหาภาพ ความลึก (Perspective)  พร้อมอธิบายความหมายของภาพ

               ตอบ       ภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลัก ๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาจากที่เห็นในภาพสังเกตว่าหน้าต่างที่อยู่ใกล้สุดจะใหญ่  และเมื่อไกลออกไปจะมองเห็นหน้าต่างเล็กลงตามลำดับ



3.ให้นิสิตหาภาพ ความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ



                  ตอบ            เป็นการจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ชวนมอง จากภาพเป็นความตัดกันของศี  แต่กลมกลืนเรื่องรุปร่างและรูปทรง

สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



                                                                       แบบฝึกหัด 
     1.  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
                 ตอบ  1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ

                          2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท

                          3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย

                         4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
                         5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
                        6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็


  2.  คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                    ตอบ   วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด

  
    3 . ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
           ตอบ รายการ สำรวจโลก ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบโลกที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต วัฒนธรรมต่างๆ นวัตกรรม ต่างๆ รอบโลก และอื่นๆอีกมากมาย และยังได้รับความเพลิดเพลินอีกด้วย








จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน


จิตวิทยาสีของการออกแบบสื่อการสอน

  กิจกรรมหลังหน่วยการเรียนรู้ ทำลงใน Weblog
                         1. ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPointถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใด ในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย                                                                                                                                                    
                 ตอบ  การออกแบบถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก เก่าแก่โบราณ นึกย้อนถึง ชุมชนโบราณ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีควรใช้ตัวอักษรที่อ่านได้อย่างชัดเจน  อ่านง่าย ขนาดของตัวอักษรมีขนาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช้ตัวอักษรสีสะท้อนแสง สีฉูดฉาด การใส่ภาพประกอบเรื่องราวหากไม่จำเป็นไม่ควรมีอักษรในภาพ ตัวอักษรที่ใช้ควรให้เงาเพื่อเพิ่มความคมชัด ส่วนสีของตัวอักษรหรือภาพประกอบที่ใช้ควรใช้สีใสบายตา ใช้รูปเป็นจุดเด่น สร้างความสนใจ และไม่ให้อารมณ์ไปทางใดทานหนึ่งจนเกินไป

                      2. ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
 ตอบ   
                                                                                    

                             ภาพนี้แสดงถึงความเลิศหรู    อลังการ แต่แฝงไปด้วยความลึกลับ  และน่าค้นหา       
                                                                                         
                                                                                  
                                                                                                                 
                              
                            ภาพนี้แสดงถึงความหดหู่ หม่นหมองโดดเดี่ยว แฝงไปด้วยความเล้นลับ
                                                                               

                    3. .ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืน โดยใช้สีในลักษณะสภาพ
สีส่วนรวม (TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
ตอบ
                                          
  ส่วนรวมของน้ำตาลอมแดงส้ม



                       สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
                        สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
                         เมื่อน้ำทั้งสองสีมารวมกันทำให้ภาพนี้ดูเป็นภาพการสิ้นสุดของวันที่เงียบสงบเพื่อรอการเริ่มต้นวันใหม่ที่สดใส
สีส่วนรวมของสีม่วง


สีม่วงนั้นเป็นสีแห่งความลึกลับ ซ่อนเร้น เป็นสีที่มีอิทธิพลต่อจิตนาการ และความอยากรู้อยากเห็นหับเด็ก เช่น เรื่องเทพนิยายดังภาพนี้








































วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555


แบบฝึกหัดทฤษฎีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้


1.  ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์

     ตอบ    ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์มีความสำคัญมาก และมีความสำคัญมากต่อการศึกษาในทุกระดับและทุกสาขา การจัดสภาพแวดล้อมควรจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่สนับสนุนทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่อยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เช่น ห้องเรียนที่ถูกสุขลักษณะ มีแสงสว่างพอเพียง สะอาด สงบ อากาศถ่ายเท มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพเหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้ มีบรรยากาศในการเรียนที่ดี ก็จะส่งผลทางบวกต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการเรียน หากบรรยากาศเต็มไปด้วยความสกปรกรกรุงรัง สกปรก เต็มไปด้วยข้าวของที่ไม่เป็นระเบียบ ก็จะส่งผลทางลบต่อผู้เรียนทำให้บรรยากาศในการเรียนเต็มไปด้วยความเคร่งเครียด ผู้สอนก็จะรู้สึกท้อถอย ไม่เป็นผลดีต่อการเรียนการสอน





2. “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา” จัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด

     ตอบ      การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ส่วนผู้เรียนจะลดความกลัว และมีความกล้ามากขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน จัดอยู่ในองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ เพราะ เป็นการเอื้อต่อการจัดการเรียนได้สะดวกและง่ายต่อการที่ครูสามารถเข้าไปดูแลเด็กนักเรียนได้ทั่วถึง และเป็นการจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ เนื่องจากมีครูเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดการเรียนการสอน การแสดงบุคลิกของครูผู้สอนมีผลต่อความรู้สึกของนักเรียนทั้งในทางบวกและทางลบ





3. ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
     ตอบ      1. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ มีการจัดโต๊ะและเก้าอี้ที่เป็นระเบียบ อุปกรณ์ต่างๆ มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน มีแสงสว่างเพียงพอ สื่อการสอนต่างๆ มีความน่าสนใจ ห้องไม่แคบเกินไป
                   2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ สีของห้องควรเป็นสีที่สบายตา ไม่ควรมีของต่างๆ มากจนเกินไป บุคลิกภาพของผู้สอนควรจะเป็นกันเองกับผู้เรียน ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป
                   3. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม ผู้สอนควรออกกฎระเบียบที่ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความอึดอัด โดยสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

                   4. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ผู้สอนมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน เช่น ระบบการเรียนที่เรียนผ่าน E-learning





4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย

          ตอบ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

1. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านกายภาพ
          บรรยายการภายในห้องปฏิบัติการจะต้อง มีทั้งอุปกรณ์ที่ครบครัน ครอบคลุมการเรียนการสอน มึฃีสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมต่อการเรียน

2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านจิตภาพ
          สภาพภายในห้องเรียนต้องไม่แออัดเพื่อให้เด็กเกิดความผ่อนคลาย ครูต้องมีผ่อนคลายเป็นกันเองและสอนอย่างสนุกสนานช่วยนักเรียนเกิดการอยากเรียนรู้มากขึ้น

3. องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านสังคม
          ภายในห้องปฏิบัติการจะต้องมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อความเป็นระเบียบของห้องเรียนและต้องไม่เป็นการบังคับจนเกินไป

4. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
           สื่อเทคโนโลยีที่ใช้ภายในห้องปฏิบัติงานต้องมีความทันสมัย เหมาะสมกับห้องปฏิบัติเพื่อสร้างความสนใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน





5. แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

            ตอบ ประการที่หนึ่ง ได้แก่แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำาเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ

ประการที่สอง เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา

อันได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทำงาน หลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร

ประการที่สาม เป็นแนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร

เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่าง ๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อ ผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุด

ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา

เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุ อุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัย เทคนิค วิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน

ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์(ergonomics)

ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการท างาน G.F. McVey แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


เยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี








                                       วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 อ.อุทิศได้พาข้าพเจ้าและเพื่อนๆเอกการสอนเคมี ไปเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตทางทะเลมากมาย ซึ่งแม้จะอยู่ใกล้ๆก็ตามแต่โอกาสที่จะได้เข้าชมนั้นน้อยมากในวันนี้ได้มาแล้วรู้สึกเหมือนว่าได้ย้อนวัยอีกครั้ง นึกไปถึงสมัยที่ยังมีบ่อเลี้ยงปลาฉลามอยุ่ด้านนอก

                                                    ซึ่งวิทยากรในวันนั้นคือ พี่จีรศักดิ์ แช่มชื้น"




                                          โดยในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะแบ่งออกเป็น 3 โซนหลักๆ โซนแรกที่ได้เข้าไปชมก็คือสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ด้านในมีตู้ปลาขนาดใหญ่ที่จัดระบบนิเวศจำลองให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสัตว์ทะเลแต่ละประเภท เสมือนได้ดำดิ่งลงไปท่องโลกใต้มหาสมุทร อีกทั้งยังมีโชว์การให้อาหารปลาในเวลา 14.30น. อีกด้วย









โซนที่ 2 คือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งอยู่บนชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อขึ้นไปถึงจะเจอส่วนแรกที่เป็นการแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง








โซนที่ 3 ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ส่วนนี้เป็นส่วนของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้




ภาพความประทับใจ













วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้



                       ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 5 ประเภทใหญ่ คือ



                      
1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลัง
นายปรีดี พนมยงค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                         นายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์และปรากฏว่าตลอดเวลาที่นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถ บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นเอนกประการจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


รัชนก อินทนนท์(น้องเมย์)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา


                 น้องเมย์ รัชนก สังกัดโรงเรียนกีฬาแบดมินตันบ้านทองหยอด น้องเมย์อายุเพียง 17 ปีเท่านั้น แต่ความสามารถของเธอไม่ได้น้อยตามอายุเลย เพราะสาวน้อยมหัศจรรย์คนนี้ครองแชมเปี้ยนแบดมินตันเยาวชนโลกถึง 3 สมัยซ้อน ซึ่งถือเป็นคนแรกของโลกที่สร้างประวัติศาสตร์ครองแชมป์เยาวชนโลกได้ 3 สมัยซ้อน หลังจากนั้นมา ชื่อเสียงของเธอก็เป็นที่รู้จักในวงการแบดมินตันโลก จนในปี พ.ศ.2552 ทางสหพันธ์แบดมินตันโลกก็มอบรางวัลนักแบดมินตันดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีให้กับน้องเมย์ 


พระพุทธทาสภิขุ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม


                      ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคนเป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไปแต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง 


ผู้ใหญ่วิบูล เข็มเฉลิม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ 

                      นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม จังหวัดฉะเชิงเทรา อายุ 73 ปี การศ
· อนุกรรมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ดันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
· หัวหน้าโครงการศึกษาพรรณพฤกษชาติและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในป่าตะวันออกอย่างยั่งยืน
· สมาชิกวุฒิสภา 
· คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ
· สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
· แนวคิดพึ่งตนเองและแนวทางสนเกษตร


หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ


                        ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก เป็นโครงการทุก ๒ ปี ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะเชิดชูเกียรติคุณของบุคคลที่มีชื่อเสียงและเหตุการณ์สำคัญของประเทศสมาชิก (ปัจจุบัน ๑๘๙ ประเทศ) ที่เกิดขึ้นในอดีตและมีความโดดเด่นที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน ซึ่งประเทศสมาชิกเป็นผู้เสนอให้ยูเนสโกพิจารณาโดยมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่ง จะต้องเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ (Anniversary) ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี ๑๕๐ ปี หรือมากกว่านั้น เพื่อจะได้ประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ไปยังผู้สนใจและรัฐสมาชิกทั่วโลก





2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                           บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่า บริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี
แม่น้ำบางปะกง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
                   แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร และมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 100 เมตร

แม่น้ำบางปะกง มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ละองหรือละมั่ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                                           เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๒-๑.๓ เมตร น้ำหนัก ๑๐๐-๑๕๐ กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

                    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายกจังหวัดนครนายก เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"

กาแล็กซีทางช้างเผือก
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                             กาแล็กซี (Galaxy) หรือ ดาราจักร หมายถึง อาณาจักรของดาว กาแล็กซีหนึ่งๆ ประกอบด้วยก๊าซ ฝุ่น และดาวฤกษ์หลายพันล้านดวง กาแล็กซีมีขนาดใหญ่หมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง “ทางช้างเผือก” เป็นกาแล็กซีของเรามีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง เนื่องจากโลกของเราอยู่ภายในทางช้างเผือก (ภาพที่ 1) การศึกษาโครงสร้างของทางช้างเผือก จำต้องศึกษาจากภายในออกมา การศึกษากาแล็กซีอื่นๆ จึงช่วยให้เราเข้าใจกาแล็กซีของตัวเองมากขึ้น







3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร

หนังตะลุง 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


                        ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
นิตยาสาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

                       นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่จุเนื้อหาหลายเรื่องในเล่มเดียวกัน และมีกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ (สองสัปดาห์) รายเดือน รายสองเดือน เป็นต้น ในปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
โนราห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

                             โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรมโนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่งฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น
มอญซ่อนผ้า 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

                            มอญซ่อนผ้าเป็นการเล่นทั้งเด็กเล็กและหนุ่มสาว สามารถเล่นรวมกันได้ทั้ง หญิงและชาย แต่หนุ่มสาวจะเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ส่วนเด็กเล็กจะเล่นได้ตลอดเวลา เด็กจะได้รับผลจากการเล่นมอญซ่อนผ้า


การไหว้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


                               เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ






4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง


พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                              นับเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกของประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชปรารภของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นแหล่งที่สร้างความสนุกสนานพร้อมทั้งสาระความรู้ที่ครอบคลุมเนื้อหาถึง 8 ภาคการเรียนรู้ คือวิทยาศาสตร์ ชีวิตของเรา วัฒนธรรมและสังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีใกล้ตัว สันทนาการ กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก และภาคเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
Art in paradise
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

                              เป็น พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรม 3 มิติ แห่งเดียวในไทยที่เมืองพัทยา ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสงานศิลปะ ได้อย่างใกล้ชิด ถ่ายภาพกับภาพเขียนได้อิสระแปลกแหวกแนวกับศิลปะภาพวาดแบบ 3D เวลาถ่ายรูปออกมาเหมือนกับ ภาพเสมือนจริง ทะลุออกมา ขึ้นอยู่ว่าเราจะมีไอเดียเอาตัวเองไปอยู่ในภาพยังไง ซึ่งในแต่ภาพก็จะมีตัวอย่างการโพสต์ท่าติดไว้ ด้านข้างงานศิลปะแต่ละชิ้นเพื่อเป็นแนวทางให้นักท่องเที่ยวดูว่าจะโพสต์ท่าแบบใด แนวคิดในการสร้าง Art in paradise พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรม 3มิติ
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


                               ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรม ตำบลช้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่างๆ ให้แก่เกษตรกร อันได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช การแกะสลัก การจักสาน การทำตุ๊กตา การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำเครื่องเรือน การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี ช่างเชื่อม และเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาแต่ละสาขาทั่วประเทศ
บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                            เป็นบึงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช เป็นแหล่งรวบรวมปลาสวยงาม และพันธ์ปลาหายาก
ตื่นตากับอาควาเรี่ยมน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สัมผัสโลกใต้น้ำผ่านอุโมงค์ปลาแห่งแรกของประเทศไทย
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่รวบรวมผักพื้นบ้านกว่า 500 ชนิด
กรงนกใหญ่ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายสภาพธรรมชาติ ชมพันธ์นกหายากกว่า 30 ชนิด
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง6(ตึกลูกเต๋า)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                      องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของไทย สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีชื่อย่อว่า อพวช. หรือ NSM (ย่อมาจาก National Science Museum) บริเวณที่ตั้งนี้ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี (อาคารรูปลูกบาศก์), อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเทศภายในแบ่งเป็นนิทรรศการ 6 ชั้น






5 แหล่งการเรียนรู้ประเภทอินเตอร์เน็ต



กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี




กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี



www.youtube.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี




www.yahoo.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


www.facebook.com
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี