วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


เยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี








                                       วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 อ.อุทิศได้พาข้าพเจ้าและเพื่อนๆเอกการสอนเคมี ไปเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตทางทะเลมากมาย ซึ่งแม้จะอยู่ใกล้ๆก็ตามแต่โอกาสที่จะได้เข้าชมนั้นน้อยมากในวันนี้ได้มาแล้วรู้สึกเหมือนว่าได้ย้อนวัยอีกครั้ง นึกไปถึงสมัยที่ยังมีบ่อเลี้ยงปลาฉลามอยุ่ด้านนอก

                                                    ซึ่งวิทยากรในวันนั้นคือ พี่จีรศักดิ์ แช่มชื้น"




                                          โดยในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะแบ่งออกเป็น 3 โซนหลักๆ โซนแรกที่ได้เข้าไปชมก็คือสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ด้านในมีตู้ปลาขนาดใหญ่ที่จัดระบบนิเวศจำลองให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสัตว์ทะเลแต่ละประเภท เสมือนได้ดำดิ่งลงไปท่องโลกใต้มหาสมุทร อีกทั้งยังมีโชว์การให้อาหารปลาในเวลา 14.30น. อีกด้วย









โซนที่ 2 คือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งอยู่บนชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อขึ้นไปถึงจะเจอส่วนแรกที่เป็นการแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง








โซนที่ 3 ห้องปฏิบัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ส่วนนี้เป็นส่วนของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้




ภาพความประทับใจ













วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้



                       ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 5 ประเภทใหญ่ คือ



                      
1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลัง
นายปรีดี พนมยงค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                         นายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์และปรากฏว่าตลอดเวลาที่นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถ บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นเอนกประการจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


รัชนก อินทนนท์(น้องเมย์)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา


                 น้องเมย์ รัชนก สังกัดโรงเรียนกีฬาแบดมินตันบ้านทองหยอด น้องเมย์อายุเพียง 17 ปีเท่านั้น แต่ความสามารถของเธอไม่ได้น้อยตามอายุเลย เพราะสาวน้อยมหัศจรรย์คนนี้ครองแชมเปี้ยนแบดมินตันเยาวชนโลกถึง 3 สมัยซ้อน ซึ่งถือเป็นคนแรกของโลกที่สร้างประวัติศาสตร์ครองแชมป์เยาวชนโลกได้ 3 สมัยซ้อน หลังจากนั้นมา ชื่อเสียงของเธอก็เป็นที่รู้จักในวงการแบดมินตันโลก จนในปี พ.ศ.2552 ทางสหพันธ์แบดมินตันโลกก็มอบรางวัลนักแบดมินตันดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีให้กับน้องเมย์ 


พระพุทธทาสภิขุ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม


                      ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคนเป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไปแต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง 


ผู้ใหญ่วิบูล เข็มเฉลิม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานพื้นฐานอาชีพ 

                      นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม จังหวัดฉะเชิงเทรา อายุ 73 ปี การศ
· อนุกรรมการดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก) ดันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
· หัวหน้าโครงการศึกษาพรรณพฤกษชาติและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ในป่าตะวันออกอย่างยั่งยืน
· สมาชิกวุฒิสภา 
· คณะกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ
· สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
· แนวคิดพึ่งตนเองและแนวทางสนเกษตร


หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ


                        ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของยูเนสโก เป็นโครงการทุก ๒ ปี ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะเชิดชูเกียรติคุณของบุคคลที่มีชื่อเสียงและเหตุการณ์สำคัญของประเทศสมาชิก (ปัจจุบัน ๑๘๙ ประเทศ) ที่เกิดขึ้นในอดีตและมีความโดดเด่นที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน ซึ่งประเทศสมาชิกเป็นผู้เสนอให้ยูเนสโกพิจารณาโดยมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่ง จะต้องเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ (Anniversary) ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี ๑๕๐ ปี หรือมากกว่านั้น เพื่อจะได้ประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ไปยังผู้สนใจและรัฐสมาชิกทั่วโลก





2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                           บริเวณน้ำตกเอราวัณเป็นศูนย์กลางการสำรวจ พบว่า บริเวณป่าเทือกเขาสลอบ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอเมือง อำเภอวังขนาย อำเภอบ้านทวน และอำเภอวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี
แม่น้ำบางปะกง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
                   แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร และมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 100 เมตร

แม่น้ำบางปะกง มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ละองหรือละมั่ง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                                           เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๒-๑.๓ เมตร น้ำหนัก ๑๐๐-๑๕๐ กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

                    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายกจังหวัดนครนายก เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น "อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน"

กาแล็กซีทางช้างเผือก
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                             กาแล็กซี (Galaxy) หรือ ดาราจักร หมายถึง อาณาจักรของดาว กาแล็กซีหนึ่งๆ ประกอบด้วยก๊าซ ฝุ่น และดาวฤกษ์หลายพันล้านดวง กาแล็กซีมีขนาดใหญ่หมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง “ทางช้างเผือก” เป็นกาแล็กซีของเรามีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง เนื่องจากโลกของเราอยู่ภายในทางช้างเผือก (ภาพที่ 1) การศึกษาโครงสร้างของทางช้างเผือก จำต้องศึกษาจากภายในออกมา การศึกษากาแล็กซีอื่นๆ จึงช่วยให้เราเข้าใจกาแล็กซีของตัวเองมากขึ้น







3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร

หนังตะลุง 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


                        ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด
นิตยาสาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

                       นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่จุเนื้อหาหลายเรื่องในเล่มเดียวกัน และมีกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ (สองสัปดาห์) รายเดือน รายสองเดือน เป็นต้น ในปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร"
โนราห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

                             โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรมโนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่งฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น
มอญซ่อนผ้า 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

                            มอญซ่อนผ้าเป็นการเล่นทั้งเด็กเล็กและหนุ่มสาว สามารถเล่นรวมกันได้ทั้ง หญิงและชาย แต่หนุ่มสาวจะเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น ส่วนเด็กเล็กจะเล่นได้ตลอดเวลา เด็กจะได้รับผลจากการเล่นมอญซ่อนผ้า


การไหว้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


                               เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ






4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง


พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิยาศาสตร์


                              นับเป็นพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรกของประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งขึ้นตามพระราชปรารภของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นแหล่งที่สร้างความสนุกสนานพร้อมทั้งสาระความรู้ที่ครอบคลุมเนื้อหาถึง 8 ภาคการเรียนรู้ คือวิทยาศาสตร์ ชีวิตของเรา วัฒนธรรมและสังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีใกล้ตัว สันทนาการ กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก และภาคเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
Art in paradise
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

                              เป็น พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรม 3 มิติ แห่งเดียวในไทยที่เมืองพัทยา ผู้เข้าชมสามารถสัมผัสงานศิลปะ ได้อย่างใกล้ชิด ถ่ายภาพกับภาพเขียนได้อิสระแปลกแหวกแนวกับศิลปะภาพวาดแบบ 3D เวลาถ่ายรูปออกมาเหมือนกับ ภาพเสมือนจริง ทะลุออกมา ขึ้นอยู่ว่าเราจะมีไอเดียเอาตัวเองไปอยู่ในภาพยังไง ซึ่งในแต่ภาพก็จะมีตัวอย่างการโพสต์ท่าติดไว้ ด้านข้างงานศิลปะแต่ละชิ้นเพื่อเป็นแนวทางให้นักท่องเที่ยวดูว่าจะโพสต์ท่าแบบใด แนวคิดในการสร้าง Art in paradise พิพิธภัณฑ์ภาพจิตรกรรม 3มิติ
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


                               ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดตั้งขึ้นในเขตที่ดินปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรม ตำบลช้างใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มุ่งฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมต่างๆ ให้แก่เกษตรกร อันได้แก่ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช การแกะสลัก การจักสาน การทำตุ๊กตา การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำเครื่องเรือน การทอผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า การย้อมสี ช่างเชื่อม และเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะส่งไปจำหน่ายที่ร้านจิตรลดาแต่ละสาขาทั่วประเทศ
บึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                            เป็นบึงขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช เป็นแหล่งรวบรวมปลาสวยงาม และพันธ์ปลาหายาก
ตื่นตากับอาควาเรี่ยมน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สัมผัสโลกใต้น้ำผ่านอุโมงค์ปลาแห่งแรกของประเทศไทย
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่รวบรวมผักพื้นบ้านกว่า 500 ชนิด
กรงนกใหญ่ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายสภาพธรรมชาติ ชมพันธ์นกหายากกว่า 30 ชนิด
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง6(ตึกลูกเต๋า)
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                      องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของไทย สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีชื่อย่อว่า อพวช. หรือ NSM (ย่อมาจาก National Science Museum) บริเวณที่ตั้งนี้ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี (อาคารรูปลูกบาศก์), อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเทศภายในแบ่งเป็นนิทรรศการ 6 ชั้น






5 แหล่งการเรียนรู้ประเภทอินเตอร์เน็ต



กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี




กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี



www.youtube.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี




www.yahoo.com

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


www.facebook.com
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี